วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555



บันทึกการเรียนการสอน

บันทึกครั้งที่15


-อาจารย์ให้เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้แท็บแล็ตในชั้นประถมศึกษาปีที่1 ร้อมทั้งออกแบบ  จะเขียนในรูปแบบไหนก็ได้  อาทิเช่น การเขียนในรูปแบบมายม็อบ

-อาจารย์ให้นักศึกษายกมือตอบแสดงความคิดเห็นบอกข้อดี  ข้อเสียเกี่ยวกับการใช้แท็บแล็ตในชั้นประถมศึกษาปีที่1  

ข้อดี

-เด็กสามารถเรียนรู้ได้กว้างขึ้น
-สะดวกสบายรวดเร็ว

ข้อเสีย

-ทำให้เด็กขี้เกียจ
-เด็กไม่ได้ประสบการณ์ทั้ง5

-อาจารย์แจกสติ๊กเกอ์ร์ให้นักศึกษาเอาไปเคลือบในปฎิทิน





วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555




บันทึกการเรียนรู้

บันทึกครั้งที่14

-อาจารย์พูดถึง  องค์ประกอบของบล็อก

-อาจารย์ได้พูดถึงการเพิ่มลิงก์ สื่อที่ควรเพิ่ม สื่อการเรียนรู้ ในเรื่องของภาษา   แหล่งความรู้

-อาจารย์ตรวจบล็อกของนักศึกษาแต่ละคน

-อาจารย์ให้เพิ่มลิงก์เพื่อนในเซคเดียวกันให้หมดทุกคน

-อาจารย์ให้จับคู่ วิเคราะห์โทรทัศน์ครู




บันทึกการเรียนรู้

บันทึกครั้งที่13





-ออกไปนำเสนอเทคนิคการเล่านิทาน แบบเล่าไปวาดไป เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจจะเข้าสอนสาย ในระหว่างรออาจารย์ ออกมาเล่านิทานประเภทต่างๆที่หยิบฉลากได้ พร้อมทั้งถ่ายวิดีโอให้อาจารย์ดู












-อาจารย์ถามว่าใครมีความสามารถอะไรบ้าง  ดิฉันเคยไปแข่งขันแสดงนิทานภาษาอังกฤษ  และได้รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ

-อาจารย์สอนการให้ความรู้เด็กต้องสอดคล้องกับพัฒนาการ และสอดคล้องกับความรู้









การเข้าอบรมนิทานเสริมสร้างจินตนาการและการเรียนรู้  ในวันที่อาทิตย์ที่9 กันยายน  2555







ประโยชน์ของการเล่านิทาน

- เป็นวิธีการให้ความรู้ที่จำ ทำให้เด็กสนใจเรียนรู้ สามารถจดจำ  และกล้าแสดงออก  ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน  แกไขพฤติกรรมไม่พึงประสงคืของเด็กจากตัวแบบในนิทานที่เด็กประทับใจ

เทคนิคการเล่านิทาน

-ควรทำความเข้าใจในเรื่่องที่จะเล่า

-ควรเลือกคำง่ายๆ ที่เด็กนึกเป็นภาพได้

-เนื้อเรื่องควรมีบทสนทนา  เพราะฝึกทักษะทางภาษาให้กับเด็ก

-เริ่มต้นเรื่องด้วยดี   เพื่อไม่ให้เด็กเบื่อ

-การเล่าเรื่องควรใช้เสียงแบบสนทนากัน  คือ ช้า ชัดเจน มีน้ำหนัก เบา แต่ไม่ควรมี เออ อ้า



คัดลอกจาก  น.ส. พรทิพย์  สุมาลัย  เนื่องจากดิฉันไม่ได้เข้าการอบรม (ติดเรียนภาษาอังกฤษขั้นสุูง)








บันทึกการเรียนการสอน

บันทึกครั้งที่12

- อาจารย์ได้ทบทวนการจัดประสบการณ์ต่างๆ

-อาจารย์ได้สอนเทคนิคการสอนภาษา

-แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา

1.ครูต้องทราบว่าเด็กของเราเรียนรู้อย่างไรและเด็กเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร
2.ประสบการณ์ทางภาษาเกิดขึ้นได้ทั้งตลอดเวลา
3.เชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
4.เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้าเราสอน แบบ whole langague  คือ
4.1สอนอย่างเป็นธรรมชาติ
4.2สอนอย่างมีความหมายต่อเด็ก
4.3สอนให้เด็กนำคำที่สอนไปใช้ได้

- เข้าหอประชุมร่วมกิจกรรมวันสถาปนามหาวิทยาลัย






บันทึกการเรียนการสอน

บันทึกครั้งที่11

-อาจารย์ให้แต่งคำขวัญเกี่ยวกับ  สุรา  เหล้า
1. ดื่มสุรา  เหมือนฆ่าชีวิต  คิดสักนิดก่อนจะดื่ม
2.เก็บเงินใส่ขวด  ดีกว่าเจ็บปวด  เพราะเป็นตับแข็ง
3.สุรากินแล้วเมา  กลับบ้านเก่า  ก่อนใครๆ



-อาจารย์ห้อ่านการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เรื่อง"ช้างน้อย อัลเฟรด"
เขียนโดย (นฤมล  เนียมหอม)


เรื่องย่อ อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมาก  อัลเฟรดรู้สึกอับอายที่ตนมีงวงยาวกว่าช้างตนอื่น  อัลเฟรดจึงพยายามซ่อนงวงของตน  วันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความเชื่อเหลือ ของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดบนกระดานลื่น  อัลเฟรดได้ช่วยให้เด็กหญิงลงจากกระดานลื่น    เหล่าสัตว์อื่นๆพากันชื่นชมอัลเฟรด  ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุข  แม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร

-แนวคิดที่ได้จากเรื่อง
คนเราต้องรู้จักพึ่งพาอาศัยกัน

-หลังจากที่เล่านิทานให้เด็กๆฟังกันเสร็จ เราก็มีการจัดกิจกรรมบทบาทสมมติ  ให้เด็็กออกมาแสดง 



-มีการถามเด็กๆเรื่องเหตุการณ์ที่เล่าในนิทาน  ว่าเป็นอย่างไร  พอเล่าเสร็จมีการพาเด็กไปดูอัลเฟรดตัวจริง  (ช้าง)  








วัตถุประสงค์

-เด็กได้ทักษะทางภาษา  กระบวนการคิด  แลกเปลี่ยนความคิด
-การได้ลงไปสถานที่จริง
-ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง4ด้าน

- อาจารย์สั่งให้ลิงก์โทรทัศน์ครู

- อาจารย์ให้ฟังเพลงเกาะสมุย




เรียนชดเชย ในวันอาทิตย์ที่ 26  สิงหาคม  2555


-การอบรมเชิงปฏิบัติการ  "การอบรม สื่อแบบประยุกต์" โดยรอง ผอ.ศิริพร  แย้มเงิน

-ท่านวิทยากรได้สอนการทำดอกพุทธรักษา  เพื่อใช้ในการจัดบอร์ด  และมีการสอนเทคนิคต่างๆ



-






บันทึการเรียนการสอน

บันทึกครั้งที่10

-อาจารย์นัดเรียนในวันอาทิตย์ที่  26  สิงหาคม 2555

-อาจารย์ได้พูดถึงเรื่อง "การจัดกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์ภาษา  
-การฟัง เช่น นิทาน  เพลง  เรื่องราว
-การอ่าน  การอ่านภาพ  อ่านเรื่องราว
-การพูด  เช่น การแนะนำตนเอง  เล่าประสบการณ์  แสดงความคิดเห็น ชี้แจง  เล่านิทาน
ตัวอย่างการเรื่องเล่าเสาร์ อาทิตย์
-การเขียน  เขียนเล่าเรื่อง  เขียนสัญลักษณ์

-อาจารย์ให้ยกตัวอย่างของรักของหวง ของตัวเอง  ของดิฉันคือ  กระเป๋าสตางค์ เพราะเป็นสิ่งของที่คุณแม่ซื้อให้เป็นวันเกิด

- อาจารย์ให้วาดภาพรูปที่มันสอดคล้องเป็นคำ  เพื่อทายเด็ก ดิฉันวาด  รถไฟ

-อาจารย์ให้วาดภาพอะไรก็ได้มานึงอย่างแล้วออกมาเล่านิทานให้สอดคล้องกับเพื่อน
(แต่งสด)

-เพื่อนที่ยังไม่นำเสนองาน  งานค้าง ออกมา นำเสนองาน

บันทึกการเรียนรู้


บันทึกครั้งที่9

-  ไม่มีการเรียนการสอน

เนื่องจากอาจารย์มีภระกิจไปทำธุระ  ไม่มีการเรียนการสอน  มีการเนียนชดเชยวันที่26 สิงหาคม 2555


บันทึกการเรียนรู้

บันทึกครั้งที่8


- อาจารย์ได้พูดถึงองค์ประกอบของการทำปฎิทิน มีอะไรบ้าง 

-จุดประสงค์ในการทำ  ทำแล้วน้องสามารถเอาไปใช้ได้  เรื่องที่ทำสื่อถึงอะไร

-อาจารย์ให้ทำปฎิทินเรื่องคำศัพท์ที่ควรรุ้ งานนี้ให้จับคู่ช่วยกันทำ จับฉลากว่าของแต่ละคู่ได้พยัญชนะอะไร


-วันนี้กลุ่มของดิฉันนำเสนองานที่ยังค้างอยู่ เรื่องการสัมภาษณ์น้องอนุบาล





สิ่งที่ควรเพิ่มเติม

-พัฒนาการด้านภาษา



บันทึกการเรียนรู้

บันทึกครั้งที่7

-อาจารย์ออกไปนำเสนอ การสัมภาษณ์เด็ก  การเล่านิทานให้น้องฟัง วิเคราะห์ร่วมกัน ทั้งอาจารณ์ นักศึกษา

-กลุ่มของดิฉันได้เล่านิทานให้น้องฟังเรื่อง ดุ๊กดุ๋ยสำนึกผิด ซึ่งเป็นนิทานประเภท นิทานเล่มใหญ่  ไปเล่าที่โรงเรียนอนุบาลสาธิตมหาวิยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

-อาจารย์และเพื่อนๆให้คำชี้แนะควรปรับปรุงแก้ไข อาทิเช่น อาจารย์ถามว่า   เกิดน้องถามว่าเจ้าดุ๊กดุู่ยเป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย  เราจะตอบว่าอย่างไร










บันทึกการเรียนรู้


บันทึกครั้งที่6 


-อาจารย์สอนพัฒนาการตามลำดับขั้นโดยทั่วไป  ช่วงแรกเกิด เด็กจะเก็บประสบการณ์  2-4 ปี จะเริ่มพูด  4-6 ปี  เด็กจะพูดเป็นประโยคได้

-เพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกไปรายงานการสังเกตพฤติกรรมเด็ก (กลุ่มของดิฉันไม่ได้รายงานเนื่องจากวีดีโอเปิดไม่ได้)

-อาจารย์สั่งงานเป็นกลุ่ม  โดยเอากลุ่มเดิม  ให้ไปเล่านิทนให้น้องฟัง  แล้วแต่ แต่ละกลุ่มจะจับฉลาก  ได้การเล่านิทานประเภทไหน    ตอนที่เล่านิทานให้นักศึกษาสังเกตพฤติกรรมของน้องด้วย   ประเภทของนิทานก็จะมี 
-นิทานเล่มใหญ่ -นิทานเล่าเล็ก  - นิทานอิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้น

-เมื่อเล่าให้น้องฟังเสร็จแล้ว ให้ทำเป็นรายงาน จะทำในรูปแบบไหนก็ได้ 

- นำเสนอ วิเคราะห์ส่งอาทิตย์หน้า